ปลูกต้นไม้เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในโอกาสปีเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 นางนิธิวดี ตั้งจันทร์สุข ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี พร้อมด้วยนางวิไลลักษณ์ พงษ์แพทย์ ผู้อำนวยการกองกลาง และบุคลากรสำนักงานอธิการบดี เข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสปีเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ 72 พรรษา ณ บริเวณด้านหลังศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชนยั่งยืน และบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัย พร้อมกันนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.สมบัติ คชสิทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ รองอธิการบดีและผู้บริหารมหาวิทยาลัย เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวอย่างพร้อมเพรียง…

กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมวไลยอลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแห่งความสมดุลและยั่งยืน ประจำปี 2567 (VRU Sustainability 2024) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ภาพกิจกรรม

ภาพถ่าย : นายภานุวัฒน์ ครองตน  (งานบริหารทรัพยากรมนุษย์)

บริเวณด้านหลังศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชนยั่งยืน

ต้นไม้ที่ใช้ในการปลูก

  
เป็นต้นไม้ขนาดกลางโตช้า ผลัดใบ สูง 1-2 เดคาเมตร เรือนยอดทรงกลมทึบ ใบดก กิ่งโน้มลงรอบทรงพุ่ม เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีรอยแตกเป็นทางยาวตลอดลำต้น ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 16-24 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมเป็นติ่ง โคนมน เนื้อใบหนาปานกลาง เส้นใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกสีม่วง ม่วงอมชมพู หรือม่วงกับขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5-8 แฉก กลีบดอกส่วนใหญ่เป็น 6 กลีบ รูปกลมบางยับย่น ขอบย้วย โคนคอดเป็นก้านสั้น ๆ เมื่อบาน เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลรูปเกือบกลม ผิวแข็ง ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ผลแห้งแตกตามยาว 5-6 พู เมล็ดสีน้ำตาลเข้มจำนวนมาก มีปีก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ต้นเสลาขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าชายหาด พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง

สลา [สะ-เหฺลา] หรือ อินทรชิต

ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagerstroemia loudonii Teijsm. & Binn.
สัก เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในฤดูร้อน ลำต้นเปลาตรงเปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ สีเทา โคนเป็นพูพอนต่ำ ๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตก มีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สักมักจะได้รับความเข้าใจผิดเสมอว่าเป็นไม้เนื้อแข็งเนื่องจากว่ามันมีลักษณะพิเศษที่เป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีความทนทานกว่าไม้เนื้อแข็งหลาย ๆ ชนิด ชื่อสามัญอื่นอื่น: เซบ่ายี้, ปีฮือ, ปายี้, เป้อยี สีขายขนมเส้น

ต้นสัก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis Linn.f.